วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กิจกรรมเป่าสีเล่าเรื่อง
งานเป่าสี
ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเป่าสีเล่าเรื่อง
การเตรียมขั้นตอนในการทำงาน
1.จัดหากิจกรรม
2.จัดหาอุปกรณ์
3.สุ่มเด็กที่จะทำกิจกรรม
การจัดเตรียมอุปกรณื
1.กระดาษ
2.สีน้ำ(ผสมแชมพู)
3.หลอด
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.เตรียมตัวผู้สอนให้พร้อมและเตรียมอุปกรณ์ให้น้อง
2.อธิบายขั้นตอน
3.ให้น้องลงมือทำ
4.หลังจากทำกิจกรรมเสร็จได้มีการคุยกับเด็กและให้เด็กเล่าเรื่องจากภาพ
สรุปผลที่ได้จากการทำกิจกรรม
หลังจากที่ให้เด็กลงมือทำเสร็จแล้ว ให้เด็กเล่าเรื่องจากภาพที่เด็กได้เป่า เด็กได้เล่าเรื่องจากภาพที่เป่าตามจินตนาการออกมาเป็นภาษาที่สั้นๆฟังเข้าใจง่าย
วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ
1.ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมีการเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
2.ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะเสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก
3.ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
4.ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็นคำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน
5.ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น
6.ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น
7.ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนาความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้
ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น
1.ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมีการเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
2.ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะเสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก
3.ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
4.ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็นคำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน
5.ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น
6.ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น
7.ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนาความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้
ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น
บทบาทและหน้าที่ครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
พวกเราต้องเป็นครูปฐมวัยเพราะฉนั้นเราควรจะรู้หน้าที่ของครูปฐมวัย เลยเอาบทความนี้มาวัยหน้าลิ้งเพื่อเป็นการสื่อสารให้ทุกคนที่เป็นครูปฐมวัยได้รู้โดยทั่วกัน บทบาทและหน้าที่ของครูในการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็กปฐมวัยครูเป็นบุคคลสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ครูที่ต้องการให้เด็กใช้ภาษาดีครูควรเป็นแบบอย่างที่ดี ถ้าอยากให้เด็กพูดครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องสนใจและห่วงใยเด็ก ครูต้องวางแผนการจัดประสบการณ์อย่างดี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาเหมือนการใช้ภาษาปกติในชีวิตประจำวันเพราะเด็กจะเรียนรู้ภาษาตลอดเวลาอยู่แล้วตามธรรมชาติครูปฐมวัยมีบทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยการพัฒนาเด็กต้องเริ่มจากตัวครูก่อน ครูต้องเข้าใจพัฒนาการหรือวัยวุฒิ รวมถึงกระบวนการอบรมเลี้ยงดูให้ถูกต้อง มีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดไปในทางที่ดีขึ้น เพราะครูมีบทบาทสําคัญ มีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความคิด และการแสดงออกของเด็ก ครูสามารถทําให้เด็กเรียนรู้ภาษา เข้าใจความหมาย เห็นโครงสร้างของภาษาอย่างองค์รวมก่อน เช่น การเรียนรู้จากนิทานทั้งเรื่อง เด็กๆ จะเรียนรู้ว่าในหนึ่งเรื่องนี้มีหลายหน้าที่ครูเปิดอ่าน แต่ละหน้าจะประกอบด้วยกลุ่มคํา ย่อหน้า ประโยค คําและอักษร ซึ่งค่อยแยกย่อยลงไป เห็นวิธีการเรียงร้อยกันของประโยคในภาษาของเรา ที่ครูอ่านหรือพูดให้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างราบรื่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)